ข้อสอบ GAT เชื่อมโยง
ข้อสอบ GAT เชื่อมโยง จะมีลักษณะเป็นการให้บทความยาวประมาณ 1-2 หน้ากระดาษมาอ่านแล้วให้เราเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือข้อความที่โจทย์กำหนด ซึ่งลักษณะความสัมพันธ์แบ่งออกเป็นสามประเภทได้แก่ ส่งผลโดยตรง เป็นองค์ประกอบ มีผลยับยั้ง ซึ่งในบทความนั้นจะไม่ได้ใช้คำเชื่อมชัดเจนว่า ส่งผลโดยตรง เป็นองค์ประกอบ มีผลยับยั้ง ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องตีความคำเชื่อมเองว่าเป็นคำเชื่อมในลักษณะใดใน 3 ลักษณะข้างต้น ความพิเศษของ ข้อสอบ GAT เชื่อมโยง อีกอย่างนั้นคือการมีการตัดคะแนนในข้อนั้นๆถ้าหากคำตอบผิดด้วย
วิธีทำ GAT เชื่อมโยง ให้ได้คะแนนเต็ม
1. อ่านคำสั่งก่อนเสมอ
ควรอ่านคำสั่งในการทำข้อสอบก่อนทำข้อสอบก่อนเสมอ ว่าสัญลักษณ์แต่ละตัวแทนความหมายว่าอย่างไร เช่น A แทน “ส่งผลทำให้” เพราะสัญลักษณ์หรือตัวอักษรเหล่านี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงความหมายไป ไม่เหมือนกับที่เราเคยทำมาในข้อสอบเก่าก็เป็นได้ ดังนั้นควรอ่านคำสั่งก่อน เพื่อความไม่ประมาท
2. ขีดเส้นใต้คำเนียนทุกคำ
ก่อนทำข้อสอบให้อ่านคำหรือข้อความที่โจทย์กำหนดมาให้(ตัวหนาในบทความ)เชื่อมโยงก่อน แล้วจึงขีดเส้นใต้ “คำเนียน” หรือคำที่มีความหมายเหมือนกับคำที่โจทย์กำหนดมาแต่ใช้คำที่แตกต่างกัน เช่น ข้อสอบทำตัวหนาคำว่า“ป่าชายเลน” แล้วในข้อสอบบอกว่า “ป่าชายเลนหรือป่าโกงกาง เป็นป่า......” หมายความว่าคำว่า “ป่าชายเลน” และ “ป่าโกงกาง” นั้นมีความหมายเหมือนกัน น้องๆจึงควรขีดเส้นใต้ทั้งสองคำเมื่ออ่านเจอในบทความเสมอเพื่อป้องกันความสับสน
3. มีสติและสมาธิดีๆในขณะทำข้อสอบ
เนื่องจากข้อสอบนั้นเป็นบทความที่มีความยาวมาก ดังนั้นการมีสติและสมาธิในการอ่านบทความทุกคำให้ละเอียดนั้นจึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย แต่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะการเชื่อมโยงบางคำนั้นอาจซ่อนอยู่เพียงบรรทัดใดบรรทัดหนึ่งในบทความก็เป็นได้
4. อย่าคิดเอง เออเอง
การคิดเอง เออเอง เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้เสียคะแนนไปได้เป็นจำนวนมากในการทำข้อสอบ GAT เพราะบทความใน ข้อสอบ GAT เชื่อมโยง นั้นในหลายๆครั้งจะเป็นเรื่องราวที่เราอาจจะพอมีความรู้ในเรื่องดังกล่าวอยู่บ้างแล้ว จึงทำให้เมื่ออ่านบทความไปเรื่อยๆเราจะมีการเพิ่มเติมเนื้อหาที่เคยรู้มาก่อนแล้วมาไว้ในสมองโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้การตีความหมายบทความนั้นผิดไปได้มากเลยละ ดังนั้นเราควรจะอ่านและตีความหมายตามบทความที่โจทย์ให้มาเท่านั้น ห้ามคิดไปเองเพิ่มเติมเด็ดขาด
5. อ่านไป ร่างไป
แนะนำให้อ่านบทความไปพร้อมร่างแผนภาพไปด้วย เช่นเมื่อเจอ “การปลูกป่า(01) ส่งผลให้ อากาศโดยรอบดีขึ้น(02)” ก็ควรจะทำแผนภาพเชื่อมโยงระหว่าง 01 และ 02 ไปด้วยเลย ไม่ต้องรอมานั่งร่างแผนภาพใหญ่ทีเดียว เพราะจะทำให้เสียเวลาและสับสนได้
6. ระวังรายละเอียดการขีดเส้นใต้คำ
เช่น การตัดไม้ทำลายป่า(01) ทำให้ที่อยู่อาศัยของสัตว์ลดลง(02) จะเชื่อมโยงไม่เหมือนข้อความ
การตัดไม้ทำลายป่า(01) ทำให้ที่อยู่อาศัยของสัตว์ลดลง(02)
7. ดูเส้นที่ลากออกจากตัวเท่านั้น
เมื่อต้องฝนรหัสคำตอบ ให้ดูเส้นที่ลากออกจากคำหรือข้อความเท่านั้น เช่น มีเส้นที่ลากออกจาก (10) อยู่ 3 เส้นในแผนภาพแสดงว่า เมื่อฝนรหัสคำตอบลงใน ข้อความที่(10) จะต้องมีเพียง 3 รหัสคำตอบเท่านั้น
8. ถ้าคำตอบใดมี 99H แล้วจะไม่มีคำตอบอื่นอีก
เมื่อมี 99H ในคำตอบใดแล้วจะไม่มี 03D 02A หรือคำตอบอะไรอื่นๆอีกแน่นอน
9. ตรวจสอบคำตอบเมื่อฝนคำตอบ
ตรวจสอบอีกครั้งก่อนส่งว่าคำตอบที่ฝนรหัสกับแผนภาพที่ร่างไว้นั้นตอบเหมือนกันหรือไม่ เพราะถ้าเราอุตส่าห์ร่างแผนภาพได้ถูกต้องแล้วจะต้องมาเสียคะแนนไปเพียงเพราะฝนรหัสคำตอบผิดคงจะน่าเสียใจไม่ใช่น้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น